วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ประวัติปิงปอง ข้อมูล กีฬาปิงปอง

ปิงปอง







          กีฬาปิงปอง เป็นกีฬาสันทนาการอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเล่นเพื่อสร้างความสนุกสนานในหมู่คณะ ขณะเดียวกันก็เป็นกีฬาที่มีความท้าทายที่ผู้เล่นต้องต้องอาศัยไหวพริบ และความคล่องแคล่วของร่างกายในการรับ-ส่งลูก ซึ่งความท้าทายนี้จึงทำให้กีฬาปิงปองได้รับความนิยมในระดับสากล กระทั่งถูกบรรจุในการแข่งขันระดับโลก ด้วยความน่าสนใจของกีฬาปิงปองนี้ ดังนั้นทางกระปุกดอทคอมจึงได้นำข้อมูลของกีฬาปิงปองมาฝากค่ะ

ประวัติกีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส

          กีฬาปิงปองได้เริ่มขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) ที่ประเทศอังกฤษ โดยในอดีตอุปกรณ์ที่ใช้เล่นปิงปองเป็นไม้หุ้มหนังสัตว์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไม้ปิงปองในปัจจุบัน ส่วนลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ ซึ่งทำจากพลาสติกกึ่งสังเคราะห์ โดยเวลาที่ลูกบอลกระทบกับพื้นโต๊ะ และไม้ตีจะเกิดเสียง "ปิก-ป๊อก"  ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกชื่อตามเสียงที่ได้ยินว่า "ปิงปอง" (PINGPONG) และได้เริ่มแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน

          ซึ่งวิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้น จะเป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING)  และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP  หรือเรียกว่า การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีการเล่นนี้เป็นที่นิยมมากแถบนยุโรป ส่วนวิธีการจับไม้ จะมี 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซึ่งเราเรียกกันว่า "จับแบบยุโรป" และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า "จับไม้แบบจีน"

          ในปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ.  2443) เริ่มปรากฏว่า มีการหันมาใช้ไม้ปิงปองติดยางเม็ดแทนหนังสัตว์ ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุก หรือแบบบุกโจมตี (ATTRACK หรือ OFFENSIVE)  โดยใช้ท่า หน้ามือ (FOREHAND)  และ หลังมือ  (BACKHAND) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น และยังคงนิยมการจับแบบไม้แบบยุโรป ดังนั้นจึงถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง

          ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465)  ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า "PINGPONG" ด้วยเหตุนี้ กีฬาปิงปองจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น เทลเบิลเทนนิส (TABLE TENNIS) และในปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) ได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม  พร้อมกับมีการจัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1  ขึ้น เป็นครั้งแรก

          จากนั้นในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) เป็นยุคที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้หันมาสนใจกีฬาเทเบิลเทนนิสมากขึ้น และได้มีการปรับวิธีการเล่นโดยเน้นไปที่ การตบลูกแม่นยำ และหนักหน่วง และการใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และในปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย  ทำให้จึงกีฬาเทเบิลเทนนิสกลายเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริง โดยในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบจับปากกา  และมีการพัฒนาไม้ปิงปองโดยใช้ยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำ เพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กันทั่วโลก

 

ปิงปอง


          ในเรื่องเทคนิคของการเล่นนั้น ยุโรปรุกด้วยความแม่นยำ และมีช่วงตีวงสวิงสั้น ๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่นที่ใช้ปลายเท้าเป็นศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ญี่ปุ่นสามารถชนะการเล่นของยุโรปได้  แม้ในช่วงแรกหลายประเทศจะมองว่าวิธีการเล่นของญี่ปุ่น เป็นการเล่นที่ค่อนข้างเสี่ยง แต่ญี่ปุ่นก็สามารถเอาชนะในการแข่งขันติดต่อกันได้หลายปี เรียกได้ว่าเป็นยุคมืดของยุโรปเลยทีเดียว

          ในที่สุดสถานการณ์ก็เปลี่ยนไป เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ด้วยวิธีการเล่นที่โจมตีแบบรวดเร็ว ผสมผสานกับการป้องกัน  ซึ่งจีนได้ศึกษาการเล่นของญี่ปุ่น ก่อนนำมาประยุกต์ให้เข้ากับการเล่นแบบที่จีนถนัด กระทั่งกลายเป็นวิธีการเล่นของจีนที่เราเห็นในปัจจุบัน

          หลังจากนั้นยุโรปได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากนำวิธีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง และในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) จึงเป็นปีของการประจันหน้าระหว่างผู้เล่นชาวยุโรป และผู้เล่นชาวเอเชีย แต่นักกีฬาของญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงแล้ว ขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มเก่งขึ้น  ทำให้ยุโรปสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลกไปครองได้สำเร็จ

          จากนั้นในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) นักเทเบิลเทนนิสชาวสวีเดน  ชื่อ  สเตลัง  เบนค์สัน  เป็นผู้เปิดศักราชใหม่ให้กับชาวยุโรป  โดยในปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) ทีมสวีเดนสามารถคว้าแชมป์โลกได้ จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ปรังปรุงมา ดังนั้นนักกีฬาของยุโรป และนักกีฬาของเอเชีย จึงเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับ และลาตินอเมริกา  ก็เริ่มก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น และมีการแปลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคนิค ทำให้การเล่นแบบตั้งรับ ซึ่งหายไปตั้งแต่ปี  ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503)  เริ่มกลับมามีบทบาทอีกครั้ง

          จากนั้นจึงได้เกิดการพัฒนาเทคนิคการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก  และมีการปรับปรุงหน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง  ที่มีความยาวของเม็ดยางมากกว่าปกติ โดยการใช้ยางที่สามารถเปลี่ยนวิถีการหมุน และทิศทางของลูกเข้าได้ จึงนับได้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีการพัฒนาอุปกรณ์ และมีวิธีการเล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลากระทั่งกีฬาเทเบิลเทนนิสได้ถูกบรรจุเป็นการแข่งขันประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี

          สำหรับประวัติกีฬาเทเบิ้ลเทนนิสในประเทศไทยนั้น ทราบเพียงว่า คนไทยรู้จักคุ้นเคย และเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสมาเป็นเวลาช้านาน แต่รู้จักกันในชื่อว่า กีฬาปิงปอง โดยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า มีการนำกีฬาชนิดนี้เข้ามาเล่นในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด และใครเป็นผู้นำเข้ามา แต่ปรากฏว่ามีการเรียนการสอนมานานกว่า 30 ปี  โดยในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และมีการแข่งขันของสถาบันต่างๆ รวมทั้งมีการแข่งขันชิงแชมป์ถ้วยพระราชทานแห่งประเทศไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

ปิงปอง


การเล่นกีฬาปิงปอง หรือเทเบิลเทนนิส

          กีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส ที่เรารู้จักกันนั้น ถือเป็นกีฬาที่มีความยากในการเล่น เนื่องจากธรรมชาติของกีฬาประเภทนี้ ถูกจำกัดให้ตีลูกปิงปองลงบนโต๊ะของคู่ต่อสู้ ซึ่งบนฝั่งตรงข้ามมีพื้นที่เพียง 4.5 ฟุต X 5 ฟุต และลูกปิงปองยังมีน้ำหนักเบามาก เพียง 2.7 กรัม โดยความเร็วในการเคลื่อนที่จากฝั่งหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ใช้เวลาไม่ถึง 1 วินาที ทำให้นักกีฬาต้องตีลูกปิงปองที่กำลังเคลื่อนมากลับไปทันที ซึ่งหากลังเลแล้วตีพลาด หรือไม่ตีเลย ก็อาจทำให้ผู้เล่นเสียคะแนนได้

           ทั้งนี้ ปิงปองมีประโยชน์ต่อผู้เล่น เนื่องจากต้องอาศัยความคล่องแคล่ว ว่องไวในทุกส่วนของร่างกาย ดังนี้

           1. สายตา : สายตาจะต้องจ้องมองลูกอยู่ตลอดเวลา เพื่อสังเกตหน้าไม้ของคู่ต่อสู้ และมองลูกว่าจะหมุนมาในลักษณะใด

           2. สมอง : ปิงปองเป็นกีฬาที่ต้องใช้สมองในการคิดอยู่ตลอดเวลา รวมถึงต้องวางแผนการเล่นแบบฉับพลันอีกด้วย

           3. มือ : มือที่ใช้จับไม้ปิงปอง จะต้องคล่องแคล่ว และว่องไว รวมถึงต้องรู้สึกได้เมื่อลูกปิงปองสัมผัสถูกหน้าไม้

           4. ข้อมือ : ในการตีบางลักษณะ จำเป็นต้องใช้ข้อมือเข้าช่วย ลูกจึงจะหมุนมากยิ่งขึ้น

           5. แขน : ต้องมีพละกำลัง และมีความอดทนในการฝึกซ้อมแบบสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความเคยชิน

           6. ลำตัว : การตีลูกปิงปองในบางจังหวะ ต้องใช้ลำตัวเข้าช่วย

           7. ต้นขา : ผู้เล่นต้องมีต้นขาที่แข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา

           8. หัวเข่า : ผู้เล่นต้องย่อเข่า เพื่อเตรียมพร้อมในการเคลื่อนที่

           9. เท้า :  หากเท้าไม่เคลื่อนที่เข้าหาลูกปิงปอง ก็จะทำให้ตามตีลูกปิงปองไม่ทัน

 

ปิงปอง


วิธีการเล่นกีฬาปิงปอง หรือ เทเบิลเทนนิส

           1. การส่งลูกที่ถูกต้อง ลูกจะต้องอยู่ที่ฝ่ามือแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ สูงไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร

           2. การรับลูกที่ถูกต้อง เมื่อลูกเทเบิลเทนนิสถูกตีข้ามตาข่ายมากระทบแดนของตนครั้งเดียว ต้องตีกลับให้ข้ามตาข่าย หรืออ้อมตาข่ายกลับไป ลูกที่ให้ส่งใหม่ คือ ลูกเสิร์ฟติดตาข่าย แล้วข้ามไปตกแดนคู่ต่อสู้หรือเหตุอื่นที่ผู้ตัดสินเห็นว่าจะต้องเสิร์ฟใหม่

           3. การแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทเดี่ยวและประเภทคู่

           4. การนับคะแนน ถ้าผู้เล่นทำผิดกติกา จะเสียคะแนน

           5. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ทำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่ายชนะ

           6. การแข่งขันประเภททีมมี 2 แบบ คือ

                    6.1. SWAYTHLING CUP มีผู้เล่นครั้งละ 3 คน

                    6.2. CORBILLON CUP มีผู้เล่นครั้งละ 2 - 4 คน


http://hilight.kapook.com/view/72172


พันธุ์โคนมที่ถือกันว่าเป็นพันธุ์หลักมีอยู่ 5 พันธุ์ด้วยกัน คือ แอร์ไซร์ ( Ayrshire ), บราวน์สวิส ( Brown Swiss ), เกิร์นซี ( Guernsey ), โฮลสไตน์ ฟรีเซียน ( Holstein-Friesian ), และเจอร์ซี ( Jersey )


แอร์ไซร์ ( Ayrshire )



ถิ่นกำเนิด สก๊อตแลนด์
ลักษณะสำคัญ เป็นโคที่แข็งแรง แทะเล็มหญ้าเก่ง แม่โคโตเต็มที่หนักประมาณ 544 กก. พ่อโคหนักประมาณ 861 กก. มีสีขาว - น้ำตาลแดง เขามีลักษณะโค้งและกางออก

พันธุ์แอร์ไซร์จัดเป็นพันธุ์ที่ให้นมสูงในลำดับที่สามระหว่างพันธุ์โคนมด้วยกันปริมาณน้ำนมโดยเฉลี่ยประมาณ 5,307 กก./ปี เปอร์เซ็นต์ไขมันนมประมาณ ร้อยละ 4 จัดเป็นลำดับที่สี่ในกลุ่มพันธุ์หลัก


บราวน์สวิส ( Brown Swiss )



ถิ่นกำเนิด สวิสเซอร์แลนด์
ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลล้วน จมูกและลิ้นมีสำดำ เขาโค้งมาด้านหน้าชี้ขึ้น บราวน์สวิสเป็นโคที่มีโครงร่างใหญ่ ตัวเมียโตเต็มที่ประมาณ 680 กก. ส่วนตัวผู้หนักประมาณ 907 กก. โคตัวเมียเป็นสาวช้า กว่าพันธุ์อื่นๆ พันธุ์นี้ทนร้อนได้ดี นิยมนำพ่อโคผสมกับแม่โคเนื้อเพื่อได้ลูก ผสมสำหรับขุน
บราวน์สวิสจัดเป็นโคที่ให้นมสูงเป็นลำดับสองรองลงมาจากโคพันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเซียน ค่าเฉลี่ยของการให้นมประมาณ 5,488 กก./ปี ไขมันนมประมาณร้อยละ 4.1 จัดเป็นลำดับที่สามในกลุ่มพันธุ์โคนมหลัก


เกิร์นซี ( Guernsey )



ถิ่นกำเนิด เกาะ Guernsey บริเวณช่องแคบอังกฤษ-ฝรั่งเศษ
ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลเหลืองแต้มขาว เขาโค้งออกไปด้านหน้า เป็นสาวเร็ว เชื่อง แม่โคโตเต็มที่หนักประมาณ 499 กก. พ่อโคหนัก 816 กก.
ให้นมเป็นลำดับที่สี่ เฉลี่ยประมาณ 4,808 กก./ปี ไขมันนม ร้อยละ 5 จัดเป็นลำดับที่สองรองจากพันธุ์เจอร์ซีในกลุ่มพันธุ์หลัก น้ำนมของโคพันธุ์นี้มีสีออกเหลือง


โฮลสไตน์ ฟรีเซียน ( Holstein-Friesian )


ถิ่นกำเนิด เนเธอแลนด์
ลักษณะสำคัญ เป็นพันธุ์โคที่นิยมเลี้ยงกันมาก เพราะให้นมสูงที่สุดจัดเป็นอันดับหนึ่ง เฉลี่ยประมาณ 6,577 กก./ปี ไขมันร้อยละ 3.5 ต่ำที่สุดในบรรดาพันธุ์โคนม โคพันธุ์นี้มีสีขาว-ดำ จึงเรียกกันอีกชื่อว่าพันธุ์ขาว-ดำ (Black and White) ลักษณะเขาไปด้านหน้าและโค้งเข้า
โคพันธุ์นี้จัดเป็นโคนมพันธุ์ใหญ่ที่สุด แม่โคโตเต็มที่หนักประมาณ 680 กก. พ่อโคหนักประมาณ 998 กก. มีเต้านมขนาดใหญ่ เล็มหญ้าเก่ง กินจุ ปรับตัวเก่ง


เจอร์ซี ( Jersey )



ถิ่นกำเนิด เกาะเจอร์ซี บริเวณช่องแคบอังกฤษ
ลักษณะที่สำคัญ มีสีครีมไปจนสีน้ำตาลเหลืองออกไปทางดำก็มี เนื้อ จมูก (muzzle) มีสีีดำ จัดเป็นโคนมพันธุ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด แม่โคมีน้ำหนักโตเต็มที่เฉลี่ยประมาณ 453 กก. พ่อพันธุ์หนักประมาณ 725 กก. เขาโค้งเข้าลาดไปด้านหน้า
โคเจอร์ซีมีเต้านมที่สวยงาม การยึดเกาะเต้านมดี ปรับตัวในการกินอาหารได้เก่ง แม่โคค่อนข้างจะขี้ตื่น ให้นมเฉลี่ยประมาณ 4,536 กก./ปี ไขมันนมเฉลี่ยร้อยละ 5.4 สูงเป็นอันดับหนึ่ง

http://cow-cows.blogspot.com/

ประวัติศาสตร์ประเทศไทย

ถิ่นเดิมของไทยอยู่ในดินเเดนซึ่งปัจจุบันนี้เป็นอาณาเขตของประเทศจีน บริเวณลุ่มเเม่น้ำฮวงโห หรือ เเม่น้ำเหลือง เเละ บริเวณเเม่น้ำยังซีเกียง หรือเเม่น้ำเเยงซีเกียง เมืองสำคัญของชาวไทยในครั้งนั้น คือ ลุง อยู่ทาง เหนือ เเถมต้นเเม่น้ำฮวงโห ใกล้เเนวกำเเพงเมืองจีน เเละ ปา อยู่ทางใต้ เเถบมณฑลเสฉวนปัจจุบัน ประมาณ 5 000 ปีที่เเล้ว ชาวจีนซึ่งร่อนเร่อยู่เเถบทะเลเเคสเปียน ได้ย้ายมา ทางทิศตะวันตก เเละเข้ารุกรานบ้านเมืองของชาวไทยซึ่งตั้งหลักเเหล่ง อยู่ก่อน ชาวไทยจึงพากันอพยพถอยร่อนลงมาทางใต้ เข้าเขต มณฑล ยูนนาน (ฮูนหนำ)   ไกวเจา กวางสี กวางตุ้ง ต่างเเยกย้ายกันตั้งบ้านเมือง อยู่เป็นอิสระหลายเมือง ชาวไทยเหล่านี้เรียกตัวเองว่า อ้ายลาว
การที่ไทยถูกจีนรุกราน ต้องอพยพหลบหนีภัยจากถิ่นเดิมลงมาทางใต้นั้น มิใช่อพยพลงมาคราวเดียวทั้งหมด เเต่อพยพลงมาทีละพวกทีละหมู่ พวกใดทนอยู่กับการเบียดเบียนได้ก็อยู่ต่อที่เดิม พวกที่รักอิสระก็พากัน อพยพ ลงมาทางใต้ พบเเหล่งใดมีความอุดมสมบูรณ์ก็ตั้งถื่นฐาน สร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่
เส้นทางอพยพของชาวไทยจนเข้ามาอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีนปัจจุบัน ชาวไทยอาศัยเเม่น้ำ ๒ สายเป็นสำคัญ คือ เเม่น้ำสาละวิน เเละเเม่น้ำโขง
เส้นทางที่ ๑   พวกที่อพยพไปทางตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณลุ่มเเม่น้ำ สาละวิน เเละตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศพม่าเดี๋ยวนี้เรียกว่า ไทยใหญ่ หรือ ไทยเงี้ยว หรือ ฉาน พวกที่อพยพไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เเละตั้ง ภูมิลำเนาอยู่ในเเคว้นอัสสัมเดี๋ยวนี้ เรียกว่าไทยอาหม
เส้นทางที่ ๒   พวกที่อพยพไปทางทิศใต้ บริเวณลุ่มเเม่น้ำโขง ผ่านเข้าไป ในดินเเดนสิบสองปันนา สิบสองจุไทย เเละตังเกี๋ย เเละตั้งภูมิลำเนาอยู่ใน ดินเเดนตอนเหนือของประเทศเวียดนามเเละประเทศลาว ปัจจุบันนี้ เรียกว่า ไทยน้อย ต่อมาไทยพวกนี้ได้ยกเข้ามาอยู่ในดินเเดนลานนาไทย ทางตอน เหนือของประเทศไทย ในที่สุดได้ชายเเดนลงมาทางใต้ในบริเวณลุ่มเเม่น้ำ เจ้าพระยาตลอดลงไปในเเหลมมลายู พวกไทยน้อยเป็นบรรพบุรุษของ ชาวไทย (สยาม) ในปัจจุบัน
ชาวไทยที่ยังคงอยู่ในอาณาจักร อ้ายลาว ต้องตกอยู่ในอำนาจของจีน ตลอดมาช้านาน จนสิ้นสมัยสามก๊กเเล้ว จีนผลัดเปลี่ยนเเผ่นดินบ่อยๆ เเละรบพุ่งกันเองเนืองๆ ชาวไทยจึงมีโอกาสรวบรวมกันตั้งบ้านเมืองขึ้น เป็นอิสระ ครั้งนั้นเเยกกันอยู่เป็น ๖ เมืองด้วยกัน คือ ม่งซุ้ย(หมงสุ่ย)   ซีล่าง(ซีหล่ง) ม่งเส(เอี้ยเซ่) ล่างกง(หล่องกุ๊ง) เเละ เท่งเซี้ยง(เถ่งหยิม)
ราวศตวรรษที่ ๑๒ เเห่งพุทธกาล พระสินุโล เเห่งม่งเส มีอานุภาพ ได้รวบรวมชาวไทย ตั้งบ้านเมืองเป็นอิสระ ทรงทำให้ไทยมีกำลัง เข้มเเข็งขึ้น
พ.ศ. ๑๒๗๒ พระเจ้าพีล่อโก๊ะ เป็นนักรบที่กล้าหาญ ได้รวบรวมเมืองต่างๆ ที่เเยกกันตั้งอยู่เป็นอิสระ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับม่งเสได้สำเร็จ ตั้งเป็นอาณาจักรใหม่ขึ้น เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า เเปลว่า เจ้าใต้ นับว่าไทย เป็นปึกเเผ่นมั่งคงยิ่งขึ้น
พ.ศ. ๑๒๙๑ พระเจ้าโก๊ะล่อฝง ตั้งเมือง ตาลีฟู หรือ หนองเเส เป็นราชธานี ของอาณาจักร น่านเจ้า ได้รบกันกับจีนหลายครั้ง เเละได้ชัยชนะ
อาณาจักรน่านเจ้า มีอาณาเขตกว้างขวาง คือเขตมณฑลยูนนานทั้งหมด รวมเเคว้นสิบสองปันนาด้วย กล่าวคือ ทิศเหนือจดมณเสฉวน ทิศใต้ จดพม่า ญวน ทิศตะวันออกจดดินเเดนไกวเจา กวางสี ตังเกี๋ย ทิศตะวันตก จดพม่า ทิเบต มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายองค์ เเละมีเรื่องราว เกี่ยว ข้องกับจีนมาก จนกระทั่งถูกกองทัพมงโกลยกมาย่ำยี อาณาจักรน่านเจ้า ถูกทำลายสิ้นในปี พ.ศ. ๑๗๙๗ ชาวไทยน่านเจ้าอพยพหนีภัยลงมาทางใต้ ก็มีมาก เเละที่ตกอยู่ในอำนาจของพวกมงโกลเเห่งคุบไลข่านก็มิใช่น้อย อาณาจักรน่านเจ้าของไทยก็ศูญชื่อตั้งเเต่บัดนั้น
                          
http://www.zone-it.com/stocks/data/76/76487.html

ประวัติบิดาแห่งคอมพิวเตอร์

เครื่องผลต่างของแบบเบจ (Babbage's Difference Engine)เครื่องวิเคราะห์ของแบบเบจ (Babbage's Analytical Engine)
ชารลส์ แบบเบจ (Charles Babbage: 1792 - 1871) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ประดิษฐ์เครื่องผลต่าง (Difference Engine) ขึ้นมาในปี 1832 เป็นเครื่องคำนวณที่ประกอบด้วยฟันเฟืองจำนวนมาก สามารถคำนวณค่าของตารางได้โดยอัตโนมัติ แล้วส่งผลลัพธ์ไปตอกลงบนแผ่นพิมพ์สำหรับนำไปพิมพ์ได้ทัน แบบเบจได้พัฒนาเครื่องผลต่างอีกครั้งในปี 1852 โดยได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐสภาอังกฤษ แต่ก็ต้องยุติลงเมื่อผลการดำเนินการไม่ได้ดังที่หวังไว้
หลังจากนั้นแบบเบจก็หันมาออกแบบเครื่องวิเคราะห์ (Babbage's Analytical Engine) โดยเครื่องนี้ประกอบด้วย "หน่วยความจำ" ซึ่งก็คือ ฟันเฟืองสำหรับนับ "หน่วยคำนวณ" ที่สามารถบวกลบคูณหารได้ "บัตรปฏิบัติ" คล้ายๆ บัตรเจาะรูใช้เป็นตัวเลือกว่าจะคำนวณอะไร "บัตรตัวแปร" ใช้เลือกว่าจะใช้ข้อมูลจากหน่วยความจำใด และ "ส่วนแสดงผล" ซึ่งก็คือ "เครื่องพิมพ์ หรือเครื่องเจาะบัตร" แต่บุคคลที่นำแนวคิดของแบบเบจมาสร้างเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) ก็คือ ลูกชายของแบบเบจชื่อ เฮนรี่ (Henry) ในปี 1910
อย่างไรก็ตามความคิดของแบบเบจ เกี่ยวกับเครื่องผลต่าง และเครื่องวิเคราะห์ เป็นประโยชน์ต่อวงการคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมามาก จึงได้รับสมญาว่า "บิดาแห่งคอมพิวเตอร์" เนื่องจากประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ 1. ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ 2. ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ 3. ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูลและส่วนประมวลผล 4. ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บข้อมูล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณทำให้เครื่องวิเคราะห์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน


ประวัติโรงเรียนลำปางกัลยาณี

โรงเรียนลำปางกัลยาณี เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2458 โดย พล.ต.ต.เจ้าราชวงศ์ (แก้ว ภาพเมรุ ณ ลำปาง) เป็นผู้อุทิศที่ดินให้ 1 ไร่เศษ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำวัง ถนนปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ต่อมาพ่อเลี้ยง หม่อง หง่วยสิ่น สุวรรณอัตถ์ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนให้ 1 หลัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว มี 3 ห้องเรียน แต่ไม่มี ครูสอน โรงเรียนจึงถูกทอดทิ้งไว้ให้ร้างอยู่ถึง 2 ปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2460 คุณครูแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ ได้มาเที่ยวที่จังหวัดลำปาง พระยาสุเรนทร์ ราชเสนีย์ เจ้าเมืองลำปางได้ขอร้องให้ คุณครูแคลระ ทำการเปิดสอน ด้วยความ อนุเคราะห์ของโรงเรียนรัฐบาลหญิงแห่งแรกของ จังหวัดลำปาง จึงเกิดขึ้นเป็น ครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จัดสอนแบบสหศึกษา มีนักเรียนชาย 57 คน นักเรียนหญิง 3 คน มีครูเพียงคนเดียว การสอนต้องใช้วิธีจัดให้เด็กโตช่วยสอน เด็กเล็ก ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ด้วยความตั้งใจจริงของคุณครูแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ ท่านได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังทรัพย์ ทำงานพัฒนาโรงเรียน แต่ลำพังผู้เดียวเป็นเวลาถึง 5 ปี โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ในปี พ.ศ. 2465 จึงได้ครูที่สำเร็จจากจังหวัดพระนครมาช่วยสอน และ แบ่งเบาภาระจากท่านไปบ้าง นับได้ว่าท่านเป็น ปูชนียบุคคลที่ควรแก่การยกย่อง พ.ศ. 2478 มีนักเรียนเพิ่มขึ้น ถึง 300 คน และเปิดขยาย ชั้นเรียนถึงชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ทำให้เกิดปัญหาในเรื่อง สถานที่คับแคบมาก สนามและที่พักผ่อนไม่พอกับจำนวนนักเรียน คุณครู แคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ จึงได้จัดซื้อที่ดินจำนวน 16 ไร่ 20 ตารางวา ที่ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (สถานที่ โรงเรียน ลำปางกัลยาณีในปัจจุบัน) ด้วย ทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านเป็นจำนวนเงิน 600 บาท ปัจจุบันมีเนื้อที่ 23 ไร่เศษ
โรงเรียนได้พัฒนามาตามลำดับได้รับคัดเลือกให้เข้าโครงการต่างๆ คือ โครงการ คมช. รุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2506-2511 และได้รับคัดเลือกให้เข้าอยู่ในโครงการ คมภ. 2 รุ่นแรก ระหว่าง ปี พ.ศ. 2517-2521 โรงเรียนผู้นำการใช้หลักสูตร (พ.ศ. 2521-2532) โรงเรียนร่วมพัฒนาหลักสูตร (พ.ศ. 2533- ปัจจุบัน) ซึ่งโรงเรียนลำปางกัลยาณี ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ผู้อำนวยการ (อาจารย์คุณหญิงวลัย ลีลานุช) ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นชั้นพิเศษ โรงเรียนแรก ของ ภาคเหนือ และผู้บริหาร ลำดับต่อมา ได้แก่ ผู้อำนวยการ บุญรัตน์ โรจนศักดิ์ ผู้อำนวยการบุญนาค เดี่ยววิไล และผู้อำนวยการวีรยุทธ จงสถาพรพงศ์ ได้พัฒนา โรงเรียนในทุก ๆ ด้าน ให้ทันสมัยและก้าวขึ้นสู่มาตรฐานสากล จนเป็นที่ยอมรับ ของบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนเป็นที่ชื่นชมของผู้ ปกครอง และองค์กรต่าง ๆ เสมอมา จนกระทั่งปีการศึกษา 2544 โรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนแกนนำ การใช้หลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ภายใต้การบริหารงานของผู้อำนวยการบริบูรณ์ สุทธสุภา ซึ่งโรงเรียน ได้รับ ความร่วมมือ จาก บุคลากรในโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจน ผู้ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ทำให้การ พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนบรรลุตามเจตนารมณ์ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และผู้บริหารลำดับต่อมา คือ ผู้อำนวยการจุรีย์ สร้อยเพชร (ปี 2547-ปัจจุบัน)

[แก้]รายนามผู้บริหารโรงเรียนลำปางกัลยาณี

ลำดับรายนามระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1นางแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์พ.ศ. 2460 - 2478
2นางสุ่น อัจฉกุลพ.ศ. 2479 - 2480
3นางตาบ แรงขำพ.ศ. 2481 - 2485
4นางบุญฉวี พรหมปกรณ์พ.ศ. 2485 - 2487
5นางสมบูรณ์ ธรรมคลองอาตม์พ.ศ. 2487 - 2493
6นางประทุมมาลย์ รัชตะปิติพ.ศ. 2493 - 2497
7นางศรีบุศย์ กรรณสูตพ.ศ. 2497 - 2506
8คุณหญิงวลัย ลีลานุชพ.ศ. 2506 - 2528
9นางบุญรัตน์ โรจนศักดิ์พ.ศ. 2528 - 2533
10นางสาวบุญนาค เดี่ยววิไลพ.ศ. 2533 - 2539
11นายวีระยุทธ จงสถาพรพงศ์พ.ศ. 2539 - 2544
12นายบริบูรณ์ สุทธสุภาพ.ศ. 2544 - 2547
13นางจุรีย์ สร้อยเพชรพ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน

[แก้]รายนามศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

นส.นันทนา คำวงค์ หรือชื่อเล่น แป๋ว นักกีฬาเทเบิ้ลเทนนิสหญิง


 ประวัติศาสตร์นครลำปาง
       จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดที่มีความเก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 1,300 ปี ตั้งแต่สมัยหริภุญชัย (พระนางจามเทวี) เป็นต้นมา คือ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชื่อของเมืองเขลางค์อันเป็นเมืองในยุคแรก ๆ และเมืองนครลำปาง ปรากฏอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง ทั้งจากตำนานศิลาจารึกพงศาวดาร และจากคำที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปอย่างแพร่หลาย ได้แก่ตำนานจามเทวี ชินกาลบาลีปกรณ์ ตำนานมูลศาสนา ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเจ้าเจ็ดตน พงศาวดารโยนก
       คำว่า '"ละกอน" หรือ "ละคร" (นคร) เป็นชื่อสามัญของเมืองเขลางค์ที่นิยมเรียกกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในตำนานและภาษาพูดโดยทั่วไป แม้แต่จังหวัดใกล้เคียงเช่น แพร่ น่าน เชียงราย ลำพูน เชียงใหม่ มักจะเรียกชาวลำปางว่า "จาวละกอน" ซึ่งหมายถึง ชาวนคร คำว่าละกอนมีชื่อทางภาษาบาลีว่า เรียกว่า "เขลางค์ "เช่นเดียวกับ ละพูรหรือลำพูน ซึ่งทางภาษาบาลีเรียกว่า "หริภุญชัย"และเรียกลำปางว่า "ลัมภกัปปะ" ดังนั้น เมืองละกอนจึงหมายถึง บริเวณอันเป็นที่ตั้งของเมืองเขลางค์ คือเมืองโบราณรูปหอยสังข์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวัง อยู่ในตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
       ส่วนคำว่า"ลำปาง" เป็นชื่อที่ปรากฎหลักฐานอย่างชัดแจ้งในตำนานพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นภาษาบาลีว่า "ลัมภกัปปนคร" ตั้งอยู่บริเวณลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศใต้ตามแม่น้ำวังประมาณ 16 กิโลเมตร อันเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุลำปางหลวงในปัจจุบัน ตัวเมืองลัมภกัปปนครมีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่
       ลักษณะของเมือง ศึกษาดูจากภาพถ่ายทางอากาศและการเดินสำรวจทางภาคพื้นดิน พบว่ามีคันคูล้อมรอบ 3 ชั้น (แต่ปัจจุบันเหลือเพียงบางส่วนเท่านั้น) นอกจากนี้พบเศษกระเบื้อง ภาชนะดินเผา เศียรพระพุทธรูปดินเผาสมัยหริภุญชัยและสถูปแบบสมัยหริภุญชัย สันนิษบานว่าเมืองลัมภกัปปะนี้น่าจะเป็นเมืองกัลปนาสงฆ์ (เมืองทางศาสนา) มากกว่าจะเป็นเมืองทางอาณาจักรที่มีอำนาจทางการปกครองบ้านเมืองอย่างเป็นระเบียบแบบแผน
       ตามตำนาน วัดพระธาตุลำปางหลาง (ฉบับสาขาสมาคม เพื่อการรักษาสมบัติวัฒนธรรมประจำจังหวัดลำปาง) ได้กล่าวถึงเรื่องราวของเมืองลำปางไว้ว่า
       "พระพุทธเจ้าได้เสด็จด้วยลำดับบ้านใหญ่เมืองน้อย ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าไปรอดบ้านอันหนึ่งชื่อ ลัมพการีวัน พระพุทธเจ้านั่งอยู่เหนือดอยม่อนน้อย สูงสะหน่อย ยังมีลัวะ ชื่ออ้ายคอน มันหันพระพุทธเจ้า เอาน้ำผึ้งใส่กระบอกไม้ป้างมาหื้อทานแก่พระพุทธเจ้า กับหมากพ้าว 4 ลูก พระพุทธเจ้ายื่นบอกน้ำเผิ้งหื้อแก่มหาอานนท์ถอกตกปากบาตร พระพุทธเจ้าฉันแล้ว ชัดบอกไม้ไปตกหนเหนือ แล้วพระพุทธเจ้าทำนายว่า สถานที่นี้จักเป็นเมืองอันหนึ่งชื่อ "ลัมภางค์"
       ดังนั้นนามเมืองลำปาง จึงหมายถึงชื่อของเมืองอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุลำปางหลวงในปัจจุบัน
       จังหวัดลำปางเดิมชื่อ "เมืองนครลำปาง" จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ ศิลาจารึก เลขทะเบียน ลป.1 จารึกเจ้าหมื่นคำเพชรเมื่อ พ.ศ.2019 และศิลาจารึกเลขทะเบียน ลป.2 จารึกเจ้าหาญสีทัต ได้จารึกชื่อเมืองนี้ว่า "ลคอร" ส่วนตำนานชินกาลมารีปกรณ์ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเมืองเชียงแสน ตลอดจนพงศาวดารของทางฝ่ายเหนือ ก็ล้วนแล้วแต่เรียกชื่อว่า เมืองนครลำปาง แม้แต่เอกสารทางราชการสมัยรัตนโกสินตอนต้น ก็เรียกเจ้าเมืองว่า พระยานครลำปาง นอกจากนี้จารึกประตูพระอุโบสถวัดบุญวาทย์วิหาร ก็ยังมีข้อความตอนหนึ่งจารึกว่า เมืองนครลำปาง แต่เมื่อมีการปฏิรูปบ้านเมืองจากมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ปรากฏว่า ชื่อของเมืองนครลำปาง ได้กลายมาเป็นจังหวัดลำปาง มาจนกระทั่งทุกวันนี้

 ประวัติความเป็นมาของเมืองนครลำปาง

       เรื่องราวของเมืองนครลำปางในยุคแรกๆ หรือยุคเมืองเขลางค์นั้น ส่วนใหญ่ทราบหลักฐานในตำนาน ชินกาลบาลีปกรณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงประวัติการสร้างเขลางค์ ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13 ว่า
       ในราว พ.ศ.1200 พระสุเทวฤษี ซึ่งอาศัยอยู่ที่ดอยสุเทพได้เชิญชวนให้พระสุกทันตฤษีแห่งละโว้ มาช่วยกันสร้างเมืองนครหริภุญชัย เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงไปทูลขอผู้ปกครองจากพระเจ้านพราชกษัตริย์แห่งละโว้ (ลพบุรี) ซึ่งได้ประทานพระนางจามเทวี ราชธิดาให้มาเป็นผู้ปกครอง พร้อมกับนำพระภิกษุสงฆ์ผู้รอบรู้ในพระไตรปิฎก พรามณ์โหรา นักปราชญ์ราชบัณฑิต แพทย์ ช่างฝีมือ เศรษฐี คหบดีอย่างละ 500 คนมาด้วย ขณะนั้นพระนางทรงครรภ์ เมื่อมาถึงได้ราว 3 เดือน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝด ผู้พี่ทรงพระนามว่า "เจ้ามหันตยศกุมาร" ส่วนผู้น้องทรงพระนามว่า "เจ้าอนันตยศกุมาร" เมื่อพระโอรสทั้ง 2 ทรงเจริญวัยขึ้น ประกอบกับพระนางชราภาพมากแล้ว จึงได้ทำพิธีราชาภิเษกให้ เจ้ามหันตยศกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ ครองเมืองหริภุญชัย ส่วนเจ้าอนันตยศกุมารทรงดำรงตำแหน่ง อุปราช
       ตำนานเล่าว่า เมื่อพระนางจามเทวีได้ราชาภิเษก ให้เจ้ามหันตยศกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองหริภุญชัยแล้ว ฝ่ายเจ้าอนันตยศกุมารก็ปรารถนาอยากไปครองเมืองแห่งใหม่ จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลให้พระมารดาได้ทรงทราบ พระนางทรงแนะนำให้ไปหา ฤษีวาสุเทพ เพื่อขอให้สร้างเมืองถวาย แต่ฤษีวาสุเทพได้แนะนำให้ไปหาพรานเขลางค์ซึ่งอยู่ที่ภูเขาบรรพต ดังนั้นพระเจ้าอนันตยศจึงพาข้าราชบริพารเสด็จออกจากหริภุญชัยไปยังเขลางค์บรรพต ครั้นเมื่อพบพรานเขลางค์แล้ว ก็ทรงขอให้นำไปพบพระสุพรหมฤษีบนดอยงามหรือภูเขาสองยอด แล้วขออาราธนาช่วยสร้างบ้านเมืองให้ พระสุพรหมฤษีจึงขึ้นไปยังเขลางค์บรรพตเพื่อมองหาชัยภูมิสร้างเมือง เมื่อมองไปทางยังทิศตะวันตกของแม่น้ำวังกนที ก็เห็นสถานที่แห่งหนึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม จึงได้สร้างเมืองขึ้นที่นั่น โดยกำหนดให้กว้างยาวด้านละ 500 วาแล้วเอาศิลาบาตรก้อนหนึ่งมาตั้งเป็นหลักเมืองเรียกว่า "ผาบ่อง" เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงขนานนามตามชื่อ ของนายพระหมผู้นำทางและมีส่วนร่วมในการช่วยสร้างเมืองว่า "เขลางค์นคร" และยังมีชื่อเรียกในตำนานกุกุตนครว่า"ศิรินครชัย" อีกนามหนึ่ง
       ภายหลังสร้างเมืองแล้วเสร็จ พระเจ้าอนันตยศได้ทรงราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้าอินทรเกิงการ" พระองค์ครองเมืองเขลางค์อยู่ได้ไม่นาน ก็ทรงมีความรำลึกถึงมารดา จึงได้ทูลเชิญเสด็จพระนางจามเทวี พร้อมทั้งสมณชีพราหมณ์ มายังเมืองเขลางค์นคร ทรงสร้างเมืองให้พระราชมารดาประทับอยู่เบื้องปัจฉิมทิศแห่งเขลางค์นคร ให้ชื่อว่า "อาลัมพางค์นคร"

 เรื่องราวเกี่ยวกับที่ตั้งของเมืองเขลางค์นคร

       เมื่อสำรวจผังเมือง จากภาพถ่ายทางอากาศและการสำรวจภาคพื้นดิน รวมทั้งการศึกษาเรื่องราวในตำนานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเมืองเขลางค์พบว่า ผังเมืองอันเป็นที่ตั้งของเมืองเขลางค์แบ่งออกเป็น 3 ยุคได้แก่
ยุคแรกยุคสมัยจามเทวี
       ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1223 โดยพระสุพรหมฤษีสร้างถวายพระเจ้าอนันตยศกุมารหรือ อินทรเกิงการ โอรสของพระนางจามเทวี เป็นเมืองคู่แฝดของเมืองหริภุญชัย ผังเมืองมีลักษณะคล้ายรูปหอยสังข์ (สมุทรสังขปัตตสัณฐาน) กำแพงเมืองชั้นบนเป็นอิฐ ชั้นล่างเป็นคันดิน 3 ชั้น สันนิษฐานว่ากำแพงอิฐที่สร้างบนกำแพงดินเป็นการต่อเติมในสมัยหลัง มีความยาววัดโดยรอบ 4,400 เมตร สร้างในพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ มีประตูเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่ ประตูม้า ประตูผาป่อง ประตูท่านาง ประตูต้นผึ้ง ประตูป่อง ประตูนกกดและประตูตาล
       ปูชนียสถานที่สำคัญได้แก่ วัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ระหว่าง พ.ศ. 1979 - 2011 นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานสำคัญอีกหลายแห่งได้แก่ วัดอุโมงค์ซึ่งเป็นวัดร้าง อยู่บริเวณประตูตาล ส่วนวัดที่อยู่นอกกำแพงเมืองได้แก่ วัดป่าพร้าว อยู่ทางด้านเหนือ วัดพันเชิง วัดกู่ขาวหรือเสตกุฎาราม ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระสิกขีปฏิมากร ในสมัยพระนางจามเทวี วัดกู่แดง วัดกู่คำ อยู่ทางทิศตะวันตก ในปัจจุบันนี้บริเวณวัดพันเชิงและวัดกู่แดง ถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพของโบราณอยู่อีกต่อไป ระหว่างวัดกู่ขาวมายังเมืองเขลางค์มีแนวถนนโบราณ ทอดเข้าสู่ตัวเมืองทางประตูตาล สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ขณะมาประทับอยู่ในเขลางค์นคร แนวถนนโบราณนี้ยังใช้เป็นคันกั้นน้ำป่าเพื่อทดน้ำเข้าสู่คูเมืองและแบ่งเข้าไปใช้ในตัวเมืองด้วย ระดับคูน้ำจะสูงกว่าแม่น้ำสายใหญ่ เมืองในยุคนี้มีการเก็บน้ำไว้ในคอรอบทิศ โดยให้มีระดับสูงกว่าแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลผ่านบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นแบบเฉพาะเมืองรูปหอยสังข์ยุคนี้เท่านั้น
       เมืองเขลางค์เป็นเมืองคู่แฝดกับเมืองหริภุญชัย มีชื่อในตำนานว่า เมืองละกอน หรือลคร ภายหลังจากสมัยพระเจ้าอนันตยศแล้ว สภาพของเมืองฝาแฝดกับหริภุญชัยก็หมดไป สันนิษฐานว่า เขลางค์นครมีเจ้าผู้ครองต่อมาอีกประมาณ 500 ปีแต่ไม่ปรากฏพระนามในหลักฐานหรือเอกสารใดๆ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 1755 ได้ปรากฏชื่อของเจ้านายเมืองเขลางค์พระองค์หนึ่งมีพระนามว่า เจ้าไทยอำมาตย์แห่งเขลางค์ ได้แย่งชิงอำนาจจากพระยาพิณไทย เจ้าเมืองลำพูนแล้วสถาปนาพระองค์ปกครองหริภุญชัยสืบต่อกันมาถึง 10 รัชกาล จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบา ก็สูญเสียอำนาจให้แก่พระยามังราย ใน พ.ศ. 1844


ยุคที่สองสมัยลานนาไทย
       เมืองเขลางค์ยุคที่ 2 เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยลานนาไทย มีเนื้อที่ประมาณ 180 ไร่ กำแพงยาว 1,100 เมตร ตั้งอยู่ในตำบลเวียงเหนือ อยู่ถัดจากเมืองเขลางค์ยุคแรกลงมาทางใต้ เป็นเมืองที่ก่อกำแพงด้วยอิฐ ประตูเมืองที่มีชื่อปรากฏคือ ประตูเชียงใหม่ ประตูนาสร้อย ประตูปลายนาอันเป็นประตูที่อยู่ร่วมกับประตูนกกต ตอนท่อนหัวสังข์ของตัวเมืองเก่าและประตูป่อง ที่ประตูป่องยังคงมีซากหอรบรุ่นสมัยเจ้าคำโสมครองเมืองลำปาง ซึ่งได้ใช้เป็นปราการต่อสู้กับพม่าครั้งสำคัญ ในปี พ.ศ. 2330 พม่าล้อมเมืองอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งกองทัพทางกรุงเทพฯ ยกขึ้นมาช่วยขับไล่พม่าแตกพ่ายไป
       โบราณสถานสำคัญในเมืองเขลางค์ยุคที่ 2 ได้แก่วัดปลายนาซึ่งเป็นวัดร้างและวัดเชียงภูมิ หรือวัดปงสนุกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อลิ้นก่านที่ดำน้ำชิงเมืองแข่งกับเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว (บิดาของเจ้า 7 ตน) แต่เจ้าลิ้นก่านแพ้จึงถูกพม่าประหารชีวิต สันนิษฐานว่าพระเจ้าลิ้นก่านคงจะเป็นเจ้าสกุลล้านนาไทยองค์สุดท้ายที่อยู่ในเมืองเขลางค์
เมืองเขลางค์สมัยลานนาไทย ได้รวมเอาเมืองเขลางค์ยุคแรก (เมืองรูปหอยสังข์) กับเมืองเขลางค์ยุคใหม่เช้าด้วยกัน ตั้งอยู่เขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวัง ซึ่งเรียกกันอย่างแพร่หลายในตำนานต่าง ๆ ของทางเหนือว่า"เมืองละกอน"

 ความสำคัญของเมืองละกอนในสมัยราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ.1839 - 2101)

       เมื่อพระเจ้าเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี ในปี พ.ศ.1839 แล้ว ได้แผ่ขยายอิทธิพลมาครอบครองลำพูนและเมืองลคร (เขลางค์) กล่าวคือในพ.ศ. 1844 พระเจ้าเม็งรายโปรดให้ขุนคราม โอรส ยกกองทัพไปตีเมืองลำพูน พระยายีบาสู้ไม่ได้ จึงอพยพหนีมาพึ่งพระยาเบิกพระอนุชาที่เมืองลคร (เขลางค์) กองทัพของพระเจ้าเม็งรายซึ่งมีขุนครามเป็นแม่ทัพ ได้ยกติดตามมาประทะกับกองทัพของพระยาเบิกที่ริมน้ำแม่ตาล ปรากฏว่าพระยาเบิกเสียชีวิตในการสู้รบ ส่วนพระยายีบาเจ้าเมืองลำพูน ได้พาครอบครัวหนีไปพึ่งเจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก ) ประทับอยู่ที่นั่นจนสิ้นพระชนม์ จึงสิ้นวงศ์เจ้าผู้ครองเขลางค์ยุคแรก
       ส่วนเรื่องราวในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า ภายหลังจากที่พระเจ้าเม็งรายได้รับชัยชนะต่อพระยาเบิกแล้ว ได้แต่งตั้งชาวมิลักขะเป็นเจ้าเมืองแทน เจ้าเมืองคนใหม่พยายามชักชวนชาวเมืองเขลางค์สร้างเมืองใหม่ ซึ่งกลายเป็นเมืองเขลางค์ยุค 2 หลังจากนี้ก็มีเจ้าผู้ครองนครซึ่งมียศเป็นหมื่นปกครองสืบต่อกันมา เป็นเวลานาน จนกระทั่งสิ้นราชวงศ์เม็งราย พม่าก็แผ่อิทธิพลเข้ามาแทนที่ในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง
       เมืองนครลำปางเป็นหัวเมืองสำคัญของลานนาไทยมาจนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าแห่งหงสาวดีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองลานนาไทยใน พ.ศ. 2101 ซึ่งสัญลักษณ์แห่งอำนาจของบุเรงนองยังปรากฏอยู่ทั่วไป ได้แก่ไม้แกะสลักรูปหงส์ประจำวัดต่าง ๆ (หมายถึงหงสาวดี) นับตั้งแต่นั้นมา นครลำปางตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าเป็นเวลานานร่วม ๆ 200 ปีเศษ (พ.ศ.2101 - 2317) และบางครั้งก็อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาบ้างเช่น สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น
 

http://www.lampang.go.th/lamp.html
ประวัติความเป็นมาของอาเซี่ยนPDFPrintE-mail

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่าง ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย
จนกระทั่งต่อมามีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้น จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และพันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 10ประเทศ ได้แก่ ทุกประที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยกเว้น ติมอร์-เลสเต้ 
ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อมภายนอกที่มั่นคง (เพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้างประเทศ) ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกเสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์ต่างกับการจัดตั้งสหภาพยุโรป เนื่องจากกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม